
ตอนที่ยังเป็นเด็กนักเรียนหลายคน ต่างเชื่อเสมอว่าถ้าได้ตั้งใจเรียนสอบติด คณะที่ใช่ยิ่งมีโอกาสได้ งานที่ดี
เงินเดือนที่ดีและ ยิ่งเป็นอาชีพ ที่ใครก็รู้จักเช่น ข้าราชการ,วิศวกร นักธุรกิจยิ่งน่าภูมิใจไปใหญ่
เพราะนอกจากเงินเดือน ที่ได้สมน้ำสมเนื้อมี จำนวนมากพอ ที่จะจุนเจือครอบครัวได้
มีสวัสดิการรองรับให้สุขสบาย ยังเป็นอาชีพที่ ถือว่า “มีหน้ามีตา” ใครก็ต้อนรับกันหมด
แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว อาชีพที่“มีหน้ามีตา” ในสังคมไม่ได้
เหมาะ กับ ทุกคนเสมอไปและใน แต่ละอาชีพเขา ก็มีการกำหนด
อัตรารับสมัครแต่ละปีที่ค่อนข้างจำกัดน่ะสิ! “แล้วจะเรียนไปทำไม
ถ้าสุดท้ายก็ได้งาน ที่ไม่ตรงสาย/งานที่น้อยคนจะรู้จัก/เงินเดือนที่ ไม่ได้มากมายอะไร ?
”คำถามนี้จะได้คำตอบที่ เครียดมากเลย เพราะมันเต็มไป ด้วยความคาดหวังที่คิดว่า
“เรามีทางเลือก อยู่ไม่กี่อย่างในชีวิต”แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นความคิด“ ฉันทำงานอะไร
ก็ได้ไม่ว่าจะตรงสายหรือไม่ก็ตาม” มันอาจดูประโยคขี้แพ้ ในสายตาบางคน
แต่ถ้าคิดๆดูแล้วมันได้ความสบายใจเยอะ กว่าการตั้งคำถาม แบบแรกเพราะ ความเป็นจริงของชีวิตคือ
1. มนุษย์ทุกคน มีความสามารถ ในตัวเอง “แตกต่าง” กันไป เราไม่จำเป็น ต้องเก่งเหมือนกันหมด
2. แม้แต่ใน คนเดียวกันยังมี ความสามารถ ที่หลากหลาย เช่น…เป็นหมอ แต่ก็เล่นดนตรี เก่งทำอาหารเก่ง เป็นศิลปิน แต่ก็คำนวณ เก่งขับรถเก่ง
3. สิ่งที่เรา “เก่ง” ไม่จำเป็น ต้องออกมาในรูปแบบ วิชาชีพ เช่น…หมอ,วิศวกร,พยาบาล มันอาจเป็นพรสวรรค์
ก็ได้เป็นความรู้อะไร ก็ได้ที่เราเอาจริง กับ มันเช่น…การทำอาหารการ จัดสวน,การออกแบบ
(ไม่อย่างงั้น เราคงไม่เห็นนักธุรกิจหน้าใหม่ หลายคนผุดขึ้น เป็นดอกเห็ดหรอก)
4. สิ่งที่เราเรียนมาเ ป็นสิบ เป็นร้อยกว่า วิชามันคือ “การหล่อหลอม” หลายวิชาไม่ได้สอน
เราทางตรงแต่ ให้เราค่อยๆซึมซับข้อดี แต่อย่างไปเอง เช่น ฝึกความอดทน ,ฝึกความประณีต,
ฝึกทักษะการเข้าสังคม ในครั้งหนึ่งที่เรา ไม่เห็นประโยชน์ว่า จะใช้อะไรได้ จริงพอโตขึ้น อีกหน่อย
มันก็ต้องมีบ้างแหละ ที่เรานึกอะไรขึ้นมา จนต้องไปหาอ่าน ปัดฝุ่นตำราอีกครั้ง
ทุกความรู้ที่เราได้รับ ไม่เคยสูญเปล่า แค่เรามองไม่เห็นค่ามันเอง ลองนึกดูให้ดีสิ!
5. ในรั้ว โรงเรียน-มหาวิทยาลัย ต่อให้เราได้เรียน กับ อาจารย์ที่เก่งแค่ไหน ขอบเขตความรู้มัน
ก็เป็นเพียงความรู้ในรั้วเท่านั้น โลกของวัยผู้ใหญ่ ที่โตขึ้นเรายังต้องรู้เห็นอีกมาก เรียนรู้กัน
อีกยาวลอง ผิดลองถูกกัน อีกเยอะ ดังนั้นจะมาฟันธงว่า เรียนมาสายวิทย์ ต้องทำงานสายวิทย์
เรียนสายภาษา ต้องทำงานสายภาษา มันก็ไม่ถูกเสมอไป
6.มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่มนุษย์ เราจะต้องวิ่งตามหาสิ่งที่ “ใช่” ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับตัวไป
สิ่งที่เรากำลังสนุกในตอนนี้บางทีอาจจะยังไม่ใช่ที่สุด
สิ่งที่เราเก่งในตอนนี้ ในวันข้างหน้ามันอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำ เพราะอาจมีหลายปัจจัย
ให้คิดมากขึ้นเช่นจำเป็นต้องพับโครงการเรียนต่อเอาไว้เพราะเงินไม่พอจำเป็น
ต้องทำงานหาเงินก่อนแล้วค่อยไปเรียนศิลปะที่เราชอบ…
เราต้องดูจังหวะของชีวิตด้วย(ความจำเป็นของชีวิตแต่ละช่วง)
7.มนุษย์เราควรมีทางเลือกให้กับชีวิตไว้หลายด้านหรือ“มีแผนสำรอง”
เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นตัวเองจนเกินไปเช่นถ้าวุฒิที่เราเรียนมา
มันหางานยากจะยอมรึเปล่าที่เอาวุฒิต่ำกว่านี้หางานไปก่อน?
ถ้าเราไม่ได้อาชีพนี้เรายอมได้ รึเปล่าที่จะทำอาชีพอื่น ไปพลางๆก่อน ?
ความฝันสิ่งที่ใช่มันไม่ควรเป็นสิ่งที่ได้ดั่งใจในทันทีมันเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ
ที่ต้องแลกกับความเหนื่อยความพยายามหลายเท่าตัว
จึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อย่างใด หากจะพบว่าทำไมหมอ
บางคนถึง แต่งเพลงได้ ?
ทำไมบางคนเรียน วิชาชีพ แต่มาเป็นศิลปิน?
ทำไม บางคนเรียนไม่ จบแต่ประสบ ความสำเร็จ ?
ถ้ายังไม่เข้าในในข้อนี้ ลองย้อนกลับไปอ่านข้อ 6 อีกรอบขึ้นชื่อว่า “ความรู้”เราได้รับมา
ถึงจะไม่ใช้ในทันที ก็ไม่ควรเสียดายขึ้นชื่อว่า “ความฝัน” ถึงจะยังไม่ใช่ในวันนี้
ใช่ว่าวันหน้าจะเป็นไปไม่ได้มันอยู่ที่ตัวเราล้วนๆว่า…“รู้ตัวดีหรือไม่ว่าทำอะไรอยู่ ?
”และ“พร้อมจะยืดหยุ่นกับทุกสถานการณ์ชีวิตรึเปล่า?” อย่าลืมว่า…
โลกเรากลมและ มีหลายมิติใช่ว่า จะต้องมองเพียงด้านเดียว
ที่มา : ทำ ใ จ