
1. เลิก “กลัวการทำอะไรคนเดียว“
คนที่กลัว การทำอะไรคนเดียว มักจะไม่รู้จักตัวเองดีพอ เพราะการอยู่กับ
คนอื่นตลอดเวลาทำให้เราไม่มีเวลาสะท้อนตัวตน ของตัวเอง บางคนไม่รู้
ว่าตัวเองถนัดอะไร?อยากทำอะไร?หากเราใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตัวเองจริง ๆ
จะทำให้เรามีความั่นใจมากขึ้นยิ่งทำให้มองเห็นเส้นทางในชีวิตชัดเจนมาก
ขึ้นไปด้วย มั ก ซิ ม ก อ ร์ กี นักเขียนชาวรัซเซียเคยกล่าวไว้ว่า “ความเป็น
อัจฉริยะคือ การเชื่อมั่นในตัวเอง และความสามารถของตัวเอง”
2. เลิก “โยนความผิดให้คนอื่น”
สังคมญี่ปุ่น เชื่อในแนวคิดนึงว่า “การรับผิดชอบตัวเอง ไปซะทุกเรื่อง ไม่ใช่
เรื่องดีแต่หากคนเราไม่รับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แล้วใครจะมารับผิด
ชอบ? “ อิสรภาพนั้น เกิดจากการรับผิดชอบตัวเอง รับผิดชอบสิ่งที่เราเลือกสิ่ง
ที่เราทำในทุก ๆ ก้าวของชีวิตเมื่อคิดเช่นนี้ เราจะคิดได้ว่าตัวเอง ควรทำอะไร
มากขึ้นคาดเดาอนาคตของตัวเองได้และยังสามารถเตรียมความพร้อมกับ
ความ เ สี่ ย ง ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
3. เลิก “ปกปิดความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง”
หากเราไม่แสดงความรู้สึก ที่แท้จริง ออกไป ทางหลัก จิ ต วิ ท ย า แล้วอีกฝ่าย
จะรู้สึกถึงระยะห่างหรือพูดง่าย ๆ ก็คืออีกฝ่าย ก็จะคบหาเราโดยไม่แสดงความ
รู้สึกที่แท้จริงออกมาเช่นกันคนเราเปรียบเสมือน “กระจกเงา” หากเราต้องการ
เป็นที่ยอมรับ ของคนอื่นเราต้องเป็นฝ่ายยอมรับ และให้ความสำคัญกับผู้อื่น
ก่อนด้วยความจริงใจ
4. เลิก “กลัวว่าจะถูก เ ก ลี ย ด ”
ความ เ ค รี ย ด ของคนเราส่วนใหญ่ เกิดจาก “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล”
โดยเฉพาะกับคนที่เราเข้าใจยาก หรือไม่เข้าใจเขามากพอคนที่กลัวความ
โดดเดี่ยว จะคิดเรื่องไม่ทำให้ตัวเองถูก เ ก ลี ย ด เป็นอันดับแรกโดยไม่มี
เวลาทำความเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง หากเราสามารถเข้าใจเหตุผลของ
ความรู้สึกหรือพฤติกรรมของผู้อื่น เราจะรู้ได้ว่าควรปฏิบัติกับเขาอย่างไรและ
ยังทำให้ช่วยลดความกังวลในเรื่องของความสัมพันธ์ได้นั้นเอง
5. เลิก “ใส่ใจความเห็นคนอื่นมากเกินไป”
คนจำนวนไม่น้อย ที่ภายนอกดูชีวิตสวยหรู แต่เพราะอยากเป็นที่รัก ของทุกคน
จึงต้องคอยเกรงใจและเอาใจคนอื่นจนตัวเองสุ ข ภ า พ จิตเสีย มัวทำตามคน
รอบข้างเพื่อไม่ให้ตัวเองต้องอยู่คนเดียวหรือถูกกีดกันออกจากกลุ่มเราอาจจะ
ไม่ต้องมีชีวิตที่สวยหรูแต่การยืดอกเป็นตัวเองจะทำให้เรามั่นใจ ในตัวเองมาก
ขึ้น จงมี “ค่านิยม”ที่เรายึดถือแล้วเราจะแยกได้ว่าอะไรคือ สิ่งสำคัญและไม่
สำคัญกับชีวิตเราฟังเสียงคนรอบข้างได้ แต่อย่ามากเกินไปจนเราไม่มีความสุข
6. เลิก “ละทิ้งความฝันหรือเป้าหมาย”
“ความรู้สึกเชื่อมโยง” กับหัวใจตัวเอง หรือการเชื่อมโยงกับความฝันหรือเป้า
หมายของเราเองจะทำให้ “เราไม่คิดว่าตัวเองโดดเดียว” หากเราอยู่กับสิ่งที่
เราชอบเราจะไม่รู้สึกเหงาคนที่รู้สึกโดดเดี่ยวจึงควรหาอะไรที่ช่วยให้ใจจด
จ่อทำ ซึ่งการทำสิ่งที่ชอบเป็นวิธีที่ง่าย และได้ผลดีมาก ๆยิ่งเราทำได้ดีมัน
ก็จะส่งผล กับความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น ดั้งนั้นจงอย่าละทิ้งความ
ฝันและเป้าหมายของตนเอง!
7. เลิก “คิดมากจนไม่กล้าลงมือทำ”
คนที่ “คิดมาก” แท้จริงแล้ว คือคนที่ “ไม่ได้ใช้ความคิดมากนัก” เขาแค่ยึด
ติดกับเรื่อง ๆหนึ่งแล้ววนเวียน อยู่ในหัวตลอดเวลา เมื่อตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
ย่อมไม่สามารถ แก้ไขปัญหาหรือหาหนทางอื่นได้ จึงไม่แปลกที่เขาจะไม่
ลงมือทำอะไรเลยหากเรายอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมาแล้วคิดว่า
“แล้วต้องทำยังไงต่อ” เรื่องที่กลุ้มจะกลายเป็นโจทย์แทนเมื่อเราค้นหา
ข้อมูลจะรู้ว่ามีตัวเลือก ในการแก้โจทย์นั้นอยู่ไม่ว่าสถานการณ์อะไรมันก็
จะมีทางแก้หรือทำให้ดีขึ้นได้เสมอ สิ่งที่สำคัญต่อมาคือ “การลงมือทำ”
ให้สำเร็จนั้นเอง
8. เลิก “หนีปัญหาและมองโลกในแง่ ร้ า ย ”
แทนที่จะหนีปัญหาเราควรที่จะกล้า เผชิญหน้า กับมันตรง ๆ ปัญหาหลาย
อย่างเป็นเพียง“มโนภาพ”เช่น การคิดว่าถ้าเรื่องนู้นเรื่องนี้ เกิดขึ้นจะเป็น
ยังไง? แล้วกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นปัญหานั้นอาจมี ดังนี้ แก้ได้จาก
การ “ถาม-ตอบกับตัวเอง”โดยคำถามที่แนะนำ ให้ทุกคน ไปฝึกถาม-
ตอบกับตัวเอง มี ดังนี้ทำไมถึงเกิดเหตุการนี้? / นี่เป็นเรื่องสำคัญใช่ไหม?
/ ทำยังไงให้มันดีขึ้น? / ทางออกคืออะไร? / เราต้องทำอะไรให้มันดีขึ้น?
คนจำนวนไม่น้อยที่เผลอคิดในแง่ ร้ า ย ไปก่อน แนะนำให้เผชิญหน้า
กับตัวเองมากขึ้นฝึกฝนจนสามารถตีความสิ่งต่าง ๆ ในแง่บวกจนเป็น
นิสัย มันจะทำให้เราก้าวผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเข้มแข็ง
9. เลิก “วิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ”
จิตใจคนเราจะมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อ เราควบคุมระยะห่าง ระหว่างตัวเอง
กับสังคมและตัวเองกับคนรอบข้างได้อย่างเหมาะสมและเข้าใจ หรือ
บางคนอาจมีความกังวัลมากจาก “ความไม่รู้” ก็เป็นได้ดังนั้น สิ่งที่ควร
ทำไม่ใช้การกังวล แต่เป็นการ “หาความรู้”เช่น การ อ่ า น หนังสือเพื่อ
เข้าใจและเท่าทันโลกมากขึ้น สิ่งนี้จะส่งผลให้เราเลิกกลัวหรือกังวล
ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
10. เลิก “ยึดติดกับความคิดของตนเอง”
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ในอดีตล้วนมีความหมายและการเรียนรู้ จากเหตุ
การณ์นั้นอาจแตกต่างกันตามกาลเวลา ในอดีตเราอาจจะเรียนรู้ จากเหตุ
การณ์นั้นอย่างนึงแต่ในตอนนี้ เรากลับไปย้อนมองดูอาจจะได้เรียนรู้ในมุม
ที่ต่างออกไปสิ่งที่อยากบอกคือ อย่าปล่อยให้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น
เพียง เหตุการณ์นึงแล้วก็ผ่านไปให้ทำความเข้าใจประสบการณ์เหล่านั้น
ให้มากขึ้นและเปลี่ยนมันให้เป็นแรงก้าวเดินต่อในอนาคตได้ ต้องอาศัยรู้
แบบความเข้าใจใหม่ที่เราไม่เคยมีมาก่อน!
11. เลิก “กลัวความเปลี่ยนแปลง”
เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้า ว่าความคิดตัวเองจะเปลี่ยนไปอย่างไร? หรืออะไรจะ
เกิดขึ้นในอนาคต?ดังนั้น การฟังเรื่องราวของผู้อื่นมาก ๆ จะทำให้เราได้
เรียนรู้การใช้ชีวิตที่แตกต่างจากตนเองมากขึ้นการรับข้อมูลมากๆ จะทำให้
เราปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีสิ่งที่สำคัญไม่ใช่“ปริมาณข้อมูล” ที่เรา
รับมาแต่มันคือ “การปรับใช้”กับตัวเองให้ได้ต่างหาก จึงจะทำให้ข้อมูลเหล่า
นั้นเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นจงฝึกฝนเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและใ
ช้ชีวิตโดยไม่รู้สึกเสียใจในภายหลัง
12. เลิก “หวังว่าคนอื่นจะทำให้เรามีความสุข”
คนที่พูดว่า “ทำไมไม่เข้าใจกันเลย” คือคนที่อยากให้อีกฝ่าย สังเกตเห็นความ
รู้สึกของตนเองแต่อีกฝ่ายก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์ที่จะ อ่ า น ใจใครได้ จึงทำให้
เกิดความไม่ลงรอยกันเวลาเรานึกไม่พอใจว่าคนอื่นไม่เข้าใจเราให้เราลอง
มองย้อนตัวเองดูว่าเราได้ พ ย า ย า ม ทำให้เขาเห็นมากพอ ที่จะเข้าใจเรา
หรือยัง จากนั้นให้คิดต่อว่าทำยังไง พูดยังไงเขาถึงจะเข้าใจเรา การคิดและ
ทำเช่นนี้จะทำให้ปัญหาหลายอย่างคลี่คลาย และรู้จักปรับตัวเข้าหากันไปเรื่อย ๆ
ที่มา : k r i t t a m a t em e d i u m