
ปัญหาอย่างหนึ่ง ที่ทำเอาเจ้านาย หรือหัวหน้างานปวดหัว ไปตามๆกันก็คือลูกน้องไม่เชื่อฟังหรือ
ลูกน้องไม่เคารพ เพราะนอกจากจะทำให้การทำงานย ากขึ้นแล้วอาจจะมีปัญหาอื่นๆตามมาด้วย
ใครกำลังเจอเหตุการณ์แบบนี้ตามไปดูสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหานี้กันครับทำไมลูกน้องไม่เคารพ
ไม่เชื่อฟัง? ปัญหาเรื่องลูกน้องไม่เคารพไม่เชื่อฟังหรือไม่เข้าใจหัวหน้า มาจากต้นตอ ปัญหาเรื่อง
ของการสื่อสารระหว่างทีม หากลูกน้องไม่พร้อม ที่จะพูดคุยแบบตรงไปตรงมาให้พิจารณาจาก
พฤติก รรมของลูกน้อง เช่น จากการใช้อารมณ์หรือจากคำพูดในการสื่อสาร และดำเนินการแก้ไข
ตามความเป็นจริงปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาโลกแตก ของทุกที่เพราะอย่าว่า แต่ในโลกธุรกิจเลย
ในสังคมทั่วไป ก็มีปัญหาของคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่าที่ไม่เข้าใจกันอยู่เสมออยู่แล้ว สิ่งที่ผมคิดว่า
สำคัญกว่าในการแก้ปัญหาก็คือการดู‘เจตนา’ว่าการไม่เคารพ และไม่เชื่อฟังมาจากเจตนาในการต่อต้าน
หรือเป็นแค่ผลเสียของการมีความคิดที่หลากหลายในองค์กรลองพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้ดูครับ
1.ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล : เมื่อลูกน้องทำพลาด ก็แสดงอาการโมโหหงุดหงิด รวมไปถึงใช้ถ้อย
คำรุนแรงหรือหย าบคาย
2.ไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน: เช่นตำหนิความผิดพลาด ต่อหน้าผู้อื่นไม่เคยฟังความคิดเห็นหรือไอเดีย
จากพวกเขา
3.ไม่เคยใส่ใจ เรื่องส่วนตัว: เพราะมุ่งแต่ทำงานให้สำเร็จเพียงอย่างเดียวแต่เคยสนใจหรือเอาใจใส่
ความรู้สึกของผู้ร่วมงานคนอื่นเลย
4.ไม่รู้จักจุดแข็ง-จุดอ่อนของคนในทีม: ทำให้ไม่สามารถดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้ได้เต็ม
ประสิทธิภาพหรือใช้คนไม่เหมาะสมกับงาน
5.เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่: ไม่ว่าลูกน้อง จะเสนอไอเดียอะไรมาก็ไม่เคยรับฟัง กุมอำนาจไว้ที่ตัวเอง
คนเดียว ทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีหน้าที่ทำตามคำสั่งเท่านั้น
6.ขาดความน่าเชื่อถือ : เช่นไม่ทำตามคำพูด ไม่ตรงต่อเวลาไม่มีความมั่นใจ บางอย่างอาจดูเป็นเรื่อง
เล็กน้อยแต่ก็มีส่วนทำให้ภาพลักษณ์ของหัวหน้า จาดความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน
7.ขาดการปฏิสัมพันธ์ที่ดี: มีการติดต่อกันเฉพาะเรื่องงาน ขาดการสื่อสารที่ดีทำให้บางครั้งเกิดความ
เข้าใจผิดกันหรือ
8.ไม่เคยขอโทษหรือขอบคุณ: เช่นเมื่อสั่งงานผิดพลาด ก็ไม่เคยขอโทษซ้ำร้า ยอาจจะโยนความผิดนั้น
ไปให้ลูกน้องรวมไปถึง ไม่เคยรู้สึกขอบคุณผู้ร่วมงานที่ช่วยกันทำให้งานสำเร็จ ลูกน้องไม่เคารพไม่เชื่อฟัง
จะแก้อย่างไรดี?
1.รักษาระยะห่าง
สาเหตุก็คือ ระหว่างคุณกับลูกน้อง มีความสนิทสนม กันเกินไป เช่น รู้เรื่องส่วนตัวกันและกันไปสังสรรค์ด้วย
กันบ่อยๆ หลังเลิกงาน หากเจอคนที่สามารถ แยกแยะระหว่างเวลาทำงานกับเวลาส่วนตัวได้ ก็ถือว่าโชคดีไป
แต่ถ้าหากเป็นคนที่เห็นคุณเป็นเพื่อนเล่นตลอดเวลาควรเริ่มรักษาระยะห่าง กับเขาให้มากขึ้น ลดการพูดคุย
เรื่องส่วนตัวให้น้อยลงหากมีโอกาสก็ลองคุยกันตรงๆน่าจะเข้าใจกันมากขึ้น
2.เข้าหาคนในทีมให้มากขึ้น
ในทางตรงกันข้าม หัวหน้าบางคน อาจจะมีระยะห่างกับลูกน้องมากเกินไปเช่น พูดคุยกันเฉพาะเรื่องงาน หรือ
หัวหน้าเป็นฝ่ายสั่ง ให้ทำตามอย่างเดียวลองเข้าหาพวกเขาให้มากขึ้น โดยการชวนคุยเรื่องอื่น นอกเหนือจาก
เรื่องงานหรือแสดงความเอาใจใส่คนทำงาน เช่นลองชวนคุย เรื่องความสนใจความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งจุดนี้อาจจะ
เกิดเป็นไอเดียใหม่ๆที่สามารถนำไปพัฒนางานได้อีกด้วย
3.มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ถือเป็นอีกหนึ่งสกิล ที่คนเป็นผู้นำ ควรมีในยุคนี้ เพราะคนทำงาน มีความรู้สึกนึกคิดบางวันอาจจะต้องจัดการงาน
เยอะ หรือเจอปัญหามากมายที่ทำให้เกิดความกดดัน หรือความเครียดและส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
หรือมีความจำเป็น ที่จะต้องลาด้วยเหตุผลส่วนตัวควรถามไถ่เหตุผล ที่มาที่ไป ยื่นมือเข้าไปช่วย แก้ไขปัญหา
แทนการจับผิดหรือดุด่าว่ากล่าว
4.ลดบทบาทความสำคัญ
หากเจอลูกน้องอีโก้สูง ไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่ง หรือสั่งงานไปแล้วไม่ค่อยทำตาม หลังจากนี้ค่อยๆลดบทบาทในทีม
ของเขาให้น้อยลง เช่น ไม่มอบหมายงานสำคัญๆหรือโปรเจกต์ใหญ่ๆ ให้ทำแต่ให้เขารับผิดชอบงานง่ายๆหรืองาน
เล็กงานน้อยให้เขาพอมีผลงานบ้าง
5.ไม่แทรกแซงงาน
หากมอบหมายงานให้ลูกน้องทำแล้ว ก็ควรไว้ใจให้พวกเขาได้รับผิดชอบและคุณก็คอยดู และอยู่ห่างๆไม่ก้าวก่าย
หน้าที่กัน ระหว่างนี้อาจจะลองถามไถ่เป็นระยะเผื่อพวกเขากำลังมีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ
6.เปิดใจรับฟังความคิดเห็น
นอกจากนี้หัวหน้าควรเปิดใจ รับฟังฟีดแบ็ก ในการทำงาน ปัญหาหรือความคิดเห็นของพวกเขาไม่ยึดเอาความคิด
ตัวเองเป็นใหญ่ เพียงอย่างเดียว และหากมีการพูดคุยกัน ควรปล่อยให้พวกเขาพูดให้จบก่อน ไม่ควรพูดแทรก
หรือแย้งในทันที เพราะพวกเขาอาจจะมองว่าคุณปิดกั้นหรือไม่ยอมรับฟังได้ ที่สำคัญควรแสดงความเอาใจใส่
หรือห่วงใยพวกเขา จากใจจริงไม่ว่า จะเป็นท่าทางการแสดงออกสีหน้าน้ำเสียงและคำพูด
7.ไม่ตัดสินคนอื่น
หลายครั้ง อาจจะพบว่าผู้ที่เป็นหัวหน้า มีการวิพากษ์วิจารณ์งานของลูกน้องอย่างรุนแรง และบางครั้ง อาจมีการ
ใช้คำหย าบคาบนอกจากจะทำให้ลูกน้อง ไม่ฟังแล้วอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ และบรรย ากาศการทำงานแย่ลง
ไปด้วย.ซึ่งอย่าลืมว่าประสบการณ์การทำงาน มุมมองและความคิดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน คงจะดีกว่าหาก
ทำความรู้จัก ลักษณะนิสัยของคนในทีมและเข้าด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละคน
8.ยอมรับความผิดพลาดบ้าง
ในฐานะที่เป็นหัวหน้า ก็ต้องการให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ แต่อย่าลืมว่ามีหลายปัจจัยที่เกินการควบคุม บางครั้ง
คนในทีม ก็มีการทำผิดพลาดกันบ้างการดุด่าหรือกล่าวโทษ คนรับผิดชอบ อาจทำให้มุมมองที่พวกเขามีต่อเรา
เปลี่ยนไป และฟังเราน้อยลงคงจะดีกว่าหากหลังจากช่วยกันแก้ไขปัญหาแล้ว ตัวหัวหน้าเองก็ควรกลับมาทบทวน
ด้วย เช่นกัน เช่นเราวางแผนงานมาดีหรือยังให้งานย ากเกินไปหรือเปล่า เวลาในการทำงานน้อยเกินไปหรือไม่
พร้อมกับหาทางป้องกันไปด้วย
9.ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม
ไม่ว่าจะเป็นคนเก่าคนใหม่ หรือคนสนิท ในเวลางาน ก็ควรปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม และให้ความยุติธรรม
กับทุกคนไม่ลำเอียงเข้าข้างใครคนใดคนหนึ่ง สามารถตักเตือน และสั่งได้ ทุกคนเหมือนกันที่สำคัญควรปฏิบัติ
แบบเดียวกันทั้งต่อหน้า และลับหลังไม่นำเรื่องส่วนตัวของลูกน้องไปพูดต่อ
10.ให้พวกเขาตัดสินใจงานเองบ้าง
ในฐานะหัวหน้า ไม่ควรกุมอำนาจทั้งหมดไว้คนเดียว ควรปล่อยให้ลูกน้องหรือคนในทีมมีอำนาจ ในการตัดสินใจ
งานเองบ้าง ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะผิดหรือถูก แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นการกระทำที่ผิดพลาดก็ควรให้กำลังใจ
และกันรับผิดชอบดีกว่าคอยคำสั่งคุณเพียงฝ่ายเดียว
11.พูดคุยด้วยเหตุผล
หลายครั้งที่ลูกน้องไม่ยอมทำตามคำสั่ง เพราะไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำหรือจำเป็น ต้องเปลี่ยนสิ่งที่ทำอยู่ดังนั้น
ในการสั่งงานควรอธิบายถึงความสำคัญหรือเหตุผลที่จำเป็น ต้องให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งด้วยจะดีกว่า
12.แสดงความเป็นผู้นำที่ดี
สาเหตุหนึ่งที่ลูกน้องไม่เชื่อฟัง เพราะขาดความเชื่อมั่น เช่น เห็นว่าหัวหน้ามีประสบการณ์ หรือมีอายุน้อยกว่า ดังนั้น
ควรให้เวลาพิสูจน์ตัวเอง ด้วยการทำให้พวกเขา รู้สึกเชื่อมั่นในตัวเรามากขึ้นด้วยการให้คำแนะนำที่ดี เป็นหัวหน้าที่
พวกเขาเชื่อใจได้สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง หากลูกน้องไม่ให้ความเคารพเชื่อฟังหรือทำตามคำสั่ง ก็ไม่ควรแสดง
อาการโมโห หงุดหงิดหรือด่าทอเพราะจะยิ่งทำให้ปัญหาแย่ลง แต่จะดีกว่าหากแสดงออกอย่างเหมาะสม พร้อมลอง
นำวิธีการต่างๆเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับคนในทีม
ขอขอบคุณ t h a i w i n n e r