
พฤติก รรมที่ไม่ควรทำถ้าไม่อย ากเป็นผู้นำ ที่ขาดวุฒิภาวะ วุฒิภาวะเป็นสิ่งที่ไม่ว่า
จะอยู่ในสถาะไหน ก็ควรมีติดตัวเอาไว้เสมอเพราะถ้าวันหนึ่งคุณได้ขึ้นเป็นผู้นำ
จะทำให้คุณบริหารคนได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิมหากคุณอย ากเป็นผู้นำที่ลูกน้องเคารพ
และเชื่อมั่นต้องปฏิบัติตัว ให้เป็นแบบอย่างด้วยพฤติกรร มที่ดี และเหมาะสม แสดง
วุฒิภาวะของการเป็นผู้นำออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือที่สุด มีความฉลาดทางความคิด
และอารมณ์ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด ข่มเหงผู้ที่ด้อยกว่า จะช่วยให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับ
บัญชาพร้อมใจกัน อย ากทำงานออกมาจากใจ ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่การเป็นผู้นำนั้น
ต้องสร้างความสามัคคีไม่ใช่ความแตกแยกเพื่อสะท้อนสะภาพลักษณ์ของการเป็น
ผู้นำที่ดี แต่ถ้าเราแสดงออก ด้วยพฤติก รรมทั้ง 5 แบบเหล่านี้ละก็ นอกจากจะไม่มีใคร
อย ากร่วมงานด้วยแล้วยังทำให้เสียลูกน้องดีๆไปแบบไม่ทันได้ตั้งตัว
1.ปิดใจไม่ยอมรับฟังลูกน้อง
การเป็นผู้ฟังที่ ดีไม่ใช่เรื่องน่าเสียหาย สำหรับการเป็นผู้นำครับ แม้เราจะต้องเดินนำ
คนอื่นอยู่ข้างหน้า แต่การหยุดพักฟังเสียงคนรอบข้างเสียหน่อย จะช่วยให้เราได้
ไอเดียดีๆในการทำงานมากอีกมาย โดยเฉพาะลูกน้องของเรา ที่ได้ลงไปสัมผัสกับ
ชิ้นงาน ทำให้พวกเขารู้ดีที่สุดว่าปัญหาของงานนั้น คืออะไร จะได้ช่วยกันหาทาง
แก้ได้ อย่างถูกจุดที่สุดการมีลูกน้องเป็นเพื่อนคู่คิด เหมือนได้ลาภอันประเสริฐ
เพราะอย่างน้อยก็ดีกว่าการแก้ไขปัญหาคนเดียวครับ
2.พูดคำไม่สุภาพกับลูกน้อง
การสื่อสารเป็นทักษะสำคัญ สำหรับคนทำงาน แต่ต้องมาพร้อมกับการสื่อสารที่ดี
ไม่ทำร้า ยคนฟัง ไม่ว่าเราจะอยู่ลำดับไหนด้วยเช่นกันครับ ดังนั้นการเป็นผู้นำที่ดี
ต้องมีสติในการสื่อสารเสมอ รวมไปถึงความฉลาดทางอารมณ์ ที่ต้องใช้เหตุผล
และคำพูดที่ดี ไม่ทำร้า ย จิตใจใคร จำไว้เสมอว่า คำพูดที่เราพูดออกไปแล้วนั้น
ไม่สามารถนำกลับมาได้ คำพูดส่งผลต่อพฤติกรร มของคนฟัง เช่นกันครับ ถ้าเรา
ใช้คำพูดร้า ยๆ หรือวิพากษ์วิจารณ์ลูกน้อง ต่อหน้าคนอื่นในบริษัทจะส่งผลให้เขา
เสียความมั่นใจ และเสีย บรรย ากาศในการทำงานกลับกันถ้าเราใช้คำพูดที่ดี ใจเย็น
มีเหตุผล จะช่วยให้ลูกน้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น เพราะรับรู้ว่าหัวหน้ายัง
รับฟังเขาอยู่เสมอ
3.โยนความผิดให้ลูกน้อง
นับว่าเป็นเรื่องร้า ยแรง สำหรับความสัมพันธ์ของคนในทีม เมื่อหัวหน้าถูกตำหนิ
จากเบื้องบน หรือผู้บริหาร และนำความเครียดนั้น มาลงกับลูกน้องด้วยการโยน
ความผิดให้คนอื่นนั้น อาจส่งผลไปถึงความแตกแยกได้เช่นกันไม่ว่าความผิดนั้น
จะมาจากใคร สิ่งแรกที่ควรทำคือ ช่วยกันคิดเพื่อหาทางแก้ดีกว่าหาตัวคนผิด
นอกจากเสียเวลาแล้วยังบั่นทอนจิตใจคนทำงานด้วยครับ ฉะนั้นหัวหน้าอย่างเรา
ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้อง ว่าทุกปัญหาย่อมมีทางแก้เสมอ
4.ไล่บี้งานลูกน้อง
การมอบหมายงานทุกครั้ง ต้องมาพร้อมกับความชัดเจน ในการส่งงาน
เพื่อให้พนักงานสามารถ จัดสรรเวลาการทำงานของตัวเองได้ง่ายขึ้น
เพื่อที่จะส่งงานได้ตามกำหนด แม้หัวหน้าจะมีสิทธิ์ใน
การทวงถามงาน แต่หากยังไม่ถึงกำหนดส่ง ก็ไม่ควรไล่บี้
จนลูกน้องเกิดความกังวล และทำงานรนๆ จนเกิดข้อผิดพลาด
ถ้าต้องการงานชิ้นนั้น อย่างเร่งด่วนจริง
แต่ลูกน้องยังไม่ส่งมอบงาน ก็ลองไถ่ถามลูกน้อง ถึงปัญหาในการทำงาน
ด้วยความใจเย็น เผื่อว่าเราจะมีส่วนช่วย ในการให้ลูกน้อง
ทำงานได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
5.ไม่พัฒนาลูกน้อง
การจะปกครองคนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด คือการไม่หวงความรู้ครับ
เพราะการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในทีม เป็นสิ่งสำคัญ
ที่จะช่วยพัฒนาการทำงานต่อไปได้อย่างดีที่สุดเพราะ
หัวหน้าสามารถใช้ทักษะ และประสบการณ์ที่มีบอกต่อได้อย่างน่าเชื่อถือ
ถ้าปล่อยปะละเลย ไม่สนว่าลูกน้องเรียนรู้ไปถึงไหน ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ในทีม
แย่ลงกว่าเดิมไปอีก ถ้าหัวหน้าสามารถทำให้ลูกน้องของเราเก่งขึ้นเท่าไหร่
ก็จะยิ่งทำให้ลูกน้อง มีความสามารถในการรับผิดชอบต่องานได้ดี
ยิ่งขึ้นเท่านั้น เปิดทางให้ลูกน้องเข้ามาสื่อสาร
สอบถามและขอความคิดเห็น แลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานเชื่อผมสิครับ
ว่าจะเป็นทีมที่แข็งแกร่งมาก อย่างแน่นอนมุมมองเหล่านี้ สะท้อนการขาดภาวะ
การเป็นผู้นำได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเราแก้ไข ให้เป็นไปในทางที่ดีได้นั้น
การบริหารงาน และบริหารคนจะเป็นเรื่องง่าย ยิ่งกว่าเดิมลูกน้องเอง
ก็จะให้เกียรติและให้ใจในการทำงานกับเราแน่นอน
ขอบคุณที่มา : h a p p y w o r k a p p.