
1.เผลอเปรียบเทียบ ลูกกับคนอื่น
เพราะการเปรียบเทียบ จะเป็นการสร้างความรู้สึกด้อย ให้เกิดขึ้นในชีวิตของลูก ๆ
ซึ่ง เป็นอันตรายต่อการพัฒนาบุคลิก ภาพของเด็กอย่างมาก
ถึงแม้การพูดในลักษณะนี้ จะเป็นการที่อยากจะให้ลูกได้พยายามปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
แต่ก็อาจทำให้เด็ก รู้สึกด้อยค่าและมองว่าไม่เก่งเท่าคนอื่น ๆ อาจจะเลิกพยายามทำ
หรือยอมแพ้หรืออีกมุมหนึ่ง คือ เด็กอาจเกิดความคิดหาทางกลั่นแกล้ง ทำลายคู่แข่งคนอื่นๆได้
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเข้าใจว่าพื้นฐานของเด็กแต่ละคนนั้นตลอด
จนความสามารถนั้นแตกต่างกัน ควรจะมองและชื่นชมลูก ในสิ่งที่
เขาสามารถทำได้ และถนัดมากกว่าการใช้คำพูด เพื่อทำลายความรู้สึก ของลูก ๆ
ด้วยการเปรียบเทียบ หรือ เพื่อต้องการให้ลูกเก่งกว่าเด็กคนอื่น ๆ ในทุกด้าน
2.เผลอบอกว่า“ไม่รัก”แล้ว
จริงๆแล้วไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน ที่ไม่รักลูกแต่ก็ไม่ควรนำ ความรักมาใช้ เป็นเงื่อนไข
ต่อรองกับลูกซึ่งการพูดไม่รักบ่อย ๆ เป็นการบั่นทอนความมั่น คงทางอารมณ์และจิตใจของลูก
อย่างมากพ่อแม่บางคน อาจบอกว่าไม่รักเพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่หารู้ไม่ว่าวิธีนี้
อาจทำให้เด็กรู้สึกคิดจริงจัง ก็ได้ว่าพ่อแม่ไม่รักจริง ๆ และรู้สึกเจ็บปวดมากที่สุด
อาจจะไม่ทำตามในสิ่งที่พ่อแม่บอกแล้ว เพราะไม่มีประโยชน์ อะไร ที่เขาจะทำดี
หรือ เชื่อฟังเมื่อพ่อแม่ไม่รัก ซึ่งเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กมาก
ดังนั้นหากคุณจะตำหนิลูกที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมควร
ว่ากล่าวด้วยเหตุผลมากกว่าการบอกว่า“ถ้าทำตัวแบ บ นี้ พ่อแม่ไม่รักนะ”ดีกว่าค่ะ
3.เผลอต่อว่าลูกต่อหน้าคนอื่น การดุด่าว่ากล่าวลูกต่อหน้าคนอื่น
ถือเป็นการทำร้ายจิตใจลูกอย่างมากคุณพ่อคุณ แม่ต้องคิดเสมอว่าเด็ก ๆ
ก็มีความรู้สึกอายและเสียหน้าเป็นดังนั้นหากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ควรค่อยๆพูดกับลูกในระดับที่เสมอกันด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และเป็นมิตรซึ่งไม่ควรเผลอ
ที่จะตะคอกหรือโดยวายลูกต่อหน้าคนอื่นหรือที่สาธารณะนะคะ
4.เผลอเพิกเฉยไม่สนใจ
การแสดงความไม่สนใจต่อลูกนั้นในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งใจ แสดงออกให้ลูกเห็นว่า
การเรียกร้องแสดงความสนใจเพื่อที่จะให้พ่อแม่ตามใจเช่นการร้องไห้
ชักดิ้นชักงอหรือการเดินหนีออกจากพ่อแม่นั้นไม่ได้ผล วิธีนี้ถือเป็นการช่วยฝึกวินัย ของลูกให้เรียนรู้ว่า
พฤติกรรมแบบนี้ไม่สามารถเรียกร้องความ ส น ใจ จากพ่อแม่ได้และลูก
ก็จะไม่ทำอีกแต่กลับกันหากพ่อแม่เอาแต่สนใจอย่างอื่น โดยที่ไม่สนใจ
ลูกเพิกเฉยต่อการที่ลูกจะเข้ามาเล่นด้วย
หรือ อวดสิ่งของที่ ลูกได้ทำเองถือเป็นการทำร้ายต่อจิตใจลูกมากนะคะ
5.เผลอข่มขู่หรือทำให้กลัว
เด็กๆมักจะกลัวเสียงดุ จากคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้วเนื่อง จากลูก ยังไม่สามารถเข้าใจ
ในเรื่องต่าง ๆ ได้ดี เกือบทั้งหมดการเรียนรู้ครั้งแรก หรือ การทำผิดพลาด
อาจทำให้ลูกเกิดความไม่กล้าในครั้งต่อไป หากพ่อแม่ใช้วิธีการขู่
มาเป็นข้อห้าม หรือ หลอกเพื่อไม่ให้ลูกได้ทำสิ่งต่างๆ เช่น“ออกไป
นอกบ้านระวังตำรวจจับนะ” หรือ “ถ้าซนมากๆเดี๋ยวตุ๊กแกกินตับนะ”
การขู่ในลักษณะแบบนี้ หากทำบ่อยๆลูกจะซึบซับและจะกลายเป็น
การกลัวฝังใจกลัวแม้กระทั่งเรื่องนิด ๆ หน่อยๆทำให้เด็ก กลายเป็นคนขี้กลัว
ซึ่งความกลัวเหล่านี้จะเป็นสาเห ตุให้เด็กเก็บไปฝันและนอนผวาในตอนกลางคืน
ได้ถือเป็นการบั่นทอน สุขภาพของเด็กอย่ างม าก สำหรับเด็กแล้วเรื่องของจิตใจ
กับความรู้สึกถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่สำคัญไม่น้อยกว่าการเอาใจใส่ดูแล
สุขภาพร่างกายเพราะสองอย่างนี้จะเติบโตคู่ไปกับลูก ดังนั้น
พ่อแม่ไม่ควรเผลอกระทำสิ่งเหล่านี้ ลงไปให้ลูกรู้สึกแย่หรือไม่ดี
เพื่อให้ลูกได้เติบโตมาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดีมีจิตใจ มั่นคงและร่างกายที่แข็งแรงในอนาคตนะคะ
ขอบคุณ t h . t h e a s i a n p a r e n t