
เมื่อต้องรับบทเป็นเสาหลักของครอบครัว หรือพ่อแม่มือใหม่ก็เหนื่อยแล้ว
ไหนจะต้องหาเงินมาจ่ายหนี้สินต่างๆ ให้ทันอีก อาการหน้ามืดวิงเวียนอาจ
ถามหาได้เหมือนกันจะบริหารเงินอย่างไรให้สามารถปลดหนี้ที่มีอยู่ได้ มาดู
6 ทางออกปลดหนี้ เมื่อจ่ายหนี้สินและ หมุนเงินไม่ทันกัน บางครั้งชีวิตคน
เราอาจตกหลุมอากาศบ้าง มีปัญหาเงินขาดมือ เพราะมีเรื่องต้องใช้จ่ายไม่
คาดฝัน อย่าง อุ บั ติ เ ห ตุ คนในครอบครัว เ จ็ บ ป่ ว ย ญาติพี่น้องต้องการ
ความช่วยเหลือเรื่องเงิน หรือไป ล ง ทุ น แล้วขาดทุนบ้าง ฯลฯ ที่เคยมีเงิน
ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ค่าบัตรเครดิตอีกหลายใบ ก็ไม่สามารถจ่ายได้ตรงเวลา
เมื่อเจ้าหนี้หลายรายทวงถามมากๆ ก็ถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ มองไปทาง
ไหนก็พบแต่ทางตัน เรามาดูทางออกกันดีกว่า
1.อย่าหนีหนี้
และอย่าหันไปพึ่งหนี้นอกระบบ ขณะเดียวกัน ต้องไม่สร้างหนี้เพิ่ม ลดรายจ่าย
ที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆนั้นตัดไปได้เลย เนื่องจาก
ว่าขณะนี้ไม่สะดวกจ่ายแล้วหันมาจับจ่ายใช้สอยด้วยเงินสดแทนบัตรเครดิต หนี้
บัตรเครดิตจะได้ไม่งอกเพิ่ม เพื่อให้หลุดจากวังวนของการเป็นหนี้ไม่รู้จบเสียที
2.จดบันทึกรายรับรายจ่าย
ควรจดบันทึกอย่างละเอียด เพื่อให้รู้สถานะทางการเงินของตัวเอง ในบันทึกจะ
บอกว่าอะไรเป็นรายจ่ายจำเป็น อะไรเป็นรายจ่ายที่ตัดทิ้งได้
3.ปลดหนี้ก้อนใหญ่ให้หมด
ถ้าชำระหนี้แบบเต็มวงเงินแล้วยังมีเงินเหลือพอดำรงชีวิตในแต่ละเดือน ให้ กั ดฟั น
จ่ายหนี้บัตรที่มียอดหนี้มากที่สุดให้หมดก่อน ส่วนบัตรใบที่หนี้น้อยค่อยชำระให้
หมดเร็วที่สุด อย่าชำระขั้นต่ำ เพื่อจะได้ไม่ต้องเผชิญกับ ด อ ก เ บี้ ย ม ห า โ ห ด
4.รีไฟแนนซ์ยืดหนี้
ถ้าใช้หนี้แล้วเหลือเงินไม่พอใช้สอยในชีวิตประจำวัน ลองรีไฟแนนซ์เพื่อยืดหนี้
ออกไป อย่าไปตกหลุมพรางหาแหล่งเงินกู้ที่ด อ ก เ บี้ ย สูงกว่าหนี้เก่า เพราะ
นอกจากไม่ช่วยแล้วยังเพิ่มหนี้เข้าไปอีก ต้องหาสถาบันการเงินที่ให้ ด อ ก เ บี้ ย
ต่ำกว่า ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิต 3 ใบ อาจเลือกรีไฟแนนซ์แค่ 1-2 ใบซึ่งมีหนี้สูง แต่
อย่าลืมว่ามีข้อดี ก็มีข้อเสียคือระยะเวลาที่ต้องใช้หนี้จะยืดออกไปจากเดิม
5.หาแหล่งเงินกู้ ด อ ก เ บี้ ย ต่ำ
เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสวัสดิการพนักงาน สหกรณ์ ถ้ามีวินัยการใช้หนี้
การหันหน้าไปพึ่งพาคนในครอบครัวก็เป็นอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากไม่มีดอ กเ บี้ย
แล้วระยะเวลาใช้หนี้ก็สามารถตกลงกันได้อีกด้วย
6.ปรับโครงสร้างหนี้
ติดต่อเจ้าหนี้บัตรเครดิตเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งคือการทำสัญญาใหม่ที่จะรวม
เงินต้น ด อ ก เ บี้ ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าติดตามหนี้ทั้งหมด ข้อดีก็คือช่วยยืด
ระยะเวลาชำระหนี้ออกไป หรือถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิต และหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลกับ
สถาบันการเงินเดียวกัน อาจได้ข้อเสนอให้รวมหนี้มาเป็นยอดเดียว และคิด ด อ ก
เ บี้ ย ในอัตราที่ต่ำกว่าเดิมแต่อย่าลืมว่าหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลมีระยะเวลา
ใช้หนี้ต่างกัน การคิด ด อ ก เ บี้ ย ก็อยู่ในอัตราที่ต่างกัน ถ้าไม่มีเงินจ่ายหนี้ในกรณี
ที่มีหนี้หลายอย่าง ไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้เพราะถ้าผิดนัดแม้แต่งวดเดียวอาจถูก
อายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือนได้
7.เคล็ดลับปลดหนี้
ถึงจะแนะทางออกเมื่อเงินไม่พอใช้หนี้ให้ แต่สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการจัดการให้หนี้ที่มี
อยู่หายไปโดยเร็ว มีหลายคนที่เป็นหนี้แล้วสามารถปลดหนี้ได้หมด ต้องใช้กำลังใจ
และความอดทน คุณโจ มณฑาณี ตันติสุข ก็เป็นคนหนึ่งที่เคยโดน วิ ก ฤ ต ทาง
เศรษฐกิจเล่นงานมาแล้ว เคยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจนถูกเกือบฟ้องล้มละลาย แต่ในที่สุด
ก็สามารถปลดหนี้ 3 ล้านกว่าได้ เธอเขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์จริงของตัวเอง
ชื่อ ‘เงิน เรื่องใหญ่ที่โรงเรียนไม่เคยสอน’นอกจากนี้เรายังมีเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์
ด้านการใช้จ่าย สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการเงิน 6 ข้อ ที่น่าสนใจมาฝากกัน
1.คุณต้องแยกแยะให้ได้ระหว่าง ‘อยากได้’ กับ ‘จำเป็น’
2.รู้สถานการณ์การเงินของตัวเองเป็นอย่างดี ไม่ใช้จ่ายตามอารมณ์
3.ต้องเริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่ายตั้งแต่วันนี้ เพื่อป้องกันคำถามที่ว่า ‘เงินฉันหายไปไหน’
4.ให้รางวัลตัวเองด้วยการออม
5.ฝืนใจไม่ใช้บัตร ด้วยการฝึกนิสัย ‘มีเงินสดค่อย ซื้ อ’
6.ทิ้งสิ่งที่ บั่ น ท อ น สุ ข ภ า พ ทางการเงินของเรา
เชื่อได้เลยว่าหากคุณทำตามขั้นตอนดังกล่าว คุณจะไม่มีวันประสบปัญหาทาง
การเงินแต่อย่างใด
ขอขอบคุณ moneyhub.in.th