Home ข้อคิด 8 เรื่องที่ “ห้ามพูด” เด็ดขาด เพราะจะไม่มีใครทนฟังอีกเลย

8 เรื่องที่ “ห้ามพูด” เด็ดขาด เพราะจะไม่มีใครทนฟังอีกเลย

วิธีการพูดที่ใช้เราบ่อยๆ สื่อถึงความเป็นตัวเราได้ดีที่สุด บางวิธีก็ช่วยกระชับความสัมพันธ์

ขณะที่บางวิธีอาจยิ่ง ทำร้ า ยความรู้สึก ให้ย่ำแย่ไปกว่าเก่า มาลองดูกันว่าคุณหรือคนรอบข้างคุณ

กำลังพูดแบบนี้จนเป็นนิสัยอยู่หรือเปล่า หากใช่ ก็ขอให้ลดละเลิกเพื่อประคองความรู้สึกที่ดีระหว่างกันเอาไว้

1.พูดถึงเรื่องในอดีตที่ผิดพลาดของคนอื่น

การยกความผิดพลาดของคนอื่นขึ้นมาพูดถึงซ้ำๆ ทั้งที่หากคิดโดยใช้หลักเหตุผล

ก็รู้ว่าพูดบ่อยไปก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่ างยิ่ง คือยกความผิดพลาดนั้น

มาพูดต่อหน้าคนอื่นๆ การกระทำแบบนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้คนพูดดูเป็นคนจู้จี้ขี้บ่น

ยังถือเป็นการบ่มเพาะทั้งความขุ่นเคืองและความอับอายให้แก่คนฟัง

ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อทั้งความสัมพันธ์และประสิทธิภาพในการทำงานอย่ างแน่นอน

2. พูดแ ช ร์ ความลับของอีกคนให้คนอื่นฟัง

ความไว้ใจไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างกันได้ในชั่วข้ามคืน กว่าเราจะเปิดใจพูดเรื่องลับๆ

หรือเรื่องที่ตัวเราไม่สบายใจและไม่อย ากให้คนอื่นรู้ให้ ‘ใครสักคน’ ฟังได้ก็ต้องมีความไว้ใจกัน

พอสมควร ลองคิดดูว่าหากความลับที่ว่าถูกคนอื่นที่เราไม่ได้สนิทใจรู้เข้า

จะรู้สึกแย่แค่ไหน หากไม่อย ากเปลี่ยนจากคนดีๆ เป็นคนแย่ๆ ก็อย่ าเอาเรื่องที่คนอื่นไม่อย ากให้ใครรู้ไปพูดต่อ

3. พูดปัดความรับผิดชอบ

‘อ๋อ ฉันไม่รู้เรื่องนะ อีกคนต่างหากที่ดูแลจัดการเรื่องนี้’ การพูดปัดหรือโยนความรับผิดชอบ

นอกจากจะกระทบไปถึงคนที่เราโยนความรับผิดชอบไปให้แล้ว ยังทำให้ตัวเราถูกมองว่า

ขาดความน่าเชื่อถือและพึ่งพาไม่ได้ไปด้วย โดยเฉพาะ

หากความรับผิดชอบนั้นเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่การของเรา

4. พูดเปลี่ยนเรื่องกระทันหัน

ในระหว่างบทสนทนาเราควรตั้งใจฟังให้ดีด้วยว่าคนอื่นเขาพูดเรื่องที่คุยค้างอยู่จบหรือยัง

การตัดบทเปลี่ยนไปพูดเรื่องอื่นกระทันหัน นอกจากจะทำให้คนอื่นๆ เ

สียอารมณ์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความไร้กาลเทศะ และความไม่ใส่ใจผู้อื่นของเราด้วย

5. พูดถึงความจำเป็นของตัวเองฝ่ายเดียว

‘ทำเรื่องนี้ให้พี่หน่อย พี่ทำคนเดียวไม่ไหวแล้ว ภาระพี่เยอะ’

ยกเอาความจำเป็นของตัวเองมาก่อน ชักแม่น้ำสามสิบแปดสาย

เพื่อโยนภาระของตัวเองให้คนอื่น การพูดจาทำนองนี้

อาจเรียกความเห็นใจได้ในระยะสั้น แต่หากทำจนเคยตัว

จะกลายเป็นน่าเอือมระอาไป ทุกคนต่างมีภาระหน้าที่ เป็นของตัวเองทั้งนั้น

ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราและนึกถึงความจำเป็นของคนอื่นก่อนพูดด้วย

6. พูดเปรียบเทียบคนอื่นกับคนฟัง

เปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่นที่เรียนเก่งกว่า เทียบลูกน้องอีกคนกับลูกน้องตัวเอง

เปรียบเทียบคนอื่นกับแฟนตัวเอง จริงอยู่ที่คนเรามีความแตกต่างกัน

แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะอย ากโดนเปรียบเทียบ ไม่ว่าคนพูดจะหวังดี

อย ากพูดเพื่อเป็นแรงผลักดัน หรือพูดเพื่อกดคนอื่นลงต่ำ

สุดท้ายแล้วหากพูดแบบนี้จนเป็นนิสัยไม่ว่ากรณีไหนก็ไม่น่าฟังอยู่ดี

7.พูดเรื่องไม่จริงที่ทำคนอื่นเดือดร้อน

จะมีอะไรแย่ไปกว่าการพูดโกหกจนคนที่ถูกพูดถึงตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากใจอีก

การพูดกลับดำเป็นขาว ตีไข่ใส่สีจนเรื่องต่างๆ แย่ลงกว่าเดิมนั้นไม่ใช่

การกระทำของคนที่หวังดีต่อกันแน่ๆ หากยังอย ากมองหน้ากันติด

และมีความรู้สึกดีๆ ต่อกัน ก็ควรเลิกพฤติก ร ร มแบบนี้ก่อนที่จะไม่เหลือใครให้คบ

8. เมินสิ่งที่อีกคนพูดกับเรา

ข้อนี้แม้ไม่ใช่วิธีพูดแต่กลับเป็นการแสดงออกที่ทำร้ า ยจิตใจคู่สนทนามากที่สุด

หากเราไม่ได้กำลังทำธุระอื่น ควรรับฟังสิ่งที่คู่สนทนาพูด หรือหากเรากำลัง

อยู่ในอารมณ์ที่ขุ่นมัวก็ควรจะตอบไปตามสมควรบ้าง

เพื่อรักษาน้ำใจของกันและกันเอาไว้

ไม่มีใครหรอกที่อย ากถูกเมิน คุณเองก็เช่นกัน

 

ขอบคุณ g o o d l i f e u p da t e

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข้อคิด

Check Also

7 ลักษณะคนเก่งและฉลาด ในที่ทำงาน..เก่งไม่เหมือนใคร

1.มีทัศนคติในเชิงบวก คนที่มองโลกในแง่ดี จะมองเห็นโอกาสอยู่เสมอ ทั้งยังเข้าใจผู้อื่นได้เป็น…